การให้บริการผู้ป่วยที่บ้าน
การดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้าน ตั้งแต่ออกแบบสถานที่ให้เหมาะสมในการดูแล การให้คำแนะนำและการสร้างความเข้าใจในการดูแลอาการและรอยโรคของผู้ป่วย อย่างครบวงจร จากนักกายภาพบำบัดวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญ ให้คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยด้วยตนเองที่บ้านแก่ญาติและผู้ดูแล อีกทั้งมีการประเมินและวางแผนการรักษาผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ ตามเป้าหมายที่วางไว้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุดและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
กลุ่มอาการผู้ป่วยที่สามารถให้การดูแลฟื้นฟูที่บ้าน
- บุคคลทั่วไป ที่ต้องการทำปรึกษาและวิธีการดูแลตนเอง
- ผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการล้ม มีปัญหาการทรงตัว
- ผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ และการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
- ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดที่ต้องได้รับการฟื้นฟู
- ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
- ผู้ป่วยโรคระบบประสาทที่ต้องได้รับการฟื้นฟู
- ผู้ป่วยพาร์กินสัน
- เด็กที่พัฒนาการล่าช้า
- ผู้ป่วยนอนติดเตียง
- ผู้ป่วยที่มีภาวะเสมหะคั่งค้าง
- ผู้ป่วยที่ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
- บุคคลที่มีภาวะเครียด ซึมเศร้า เบื่อหน่าย
- มีความวิตกกังวล ความผิดปกติทางอารมณ์
- มีภาวะนอนไม่หลับ หมดไฟในการทำงาน
- ปัญหาบุคลิกภาพ หรือ ด้านความจำ
บริการทางด้านกายภาพบำบัด
- การรักษาด้วยการออกกำลังกาย เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านร่างกายและส่งผลดีต่อสุขภาพจิตใจได้ด้วย
- การรักษาด้วยสองมือของนักกายภาพบำบัด มีมากมายหลายวิธี ในการลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ หรือในการกระตุ้นกล้ามเนื้อให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น
- การรักษาด้วยเครื่องมือกายภาพบำบัด ในการทำกายภาพบำบัดตามบ้าน เช่น เครื่อง Ultrasound แบบพกพา หรือ ครื่องมือสำหรับกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้าผ่านผิวหนัง (TENS)
- การให้การรักษาการจัดท่า การดูดเสมหะและการระบายเสมหะ
บริการทางด้านกิจกรรมบำบัด
- การกระตุ้นการกลืน โดยการเพิ่มความเเช็งเเรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน เเละการปรับระดับอาหารให้เหมาะสมกับผู้รับบริการ
- การฝึกพูดเบื้องต้น เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถควบคุมกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูดได้ดีขึ้น
- การฝึกการทำงานของแขนและมือ รวมถึงการเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ ช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อ และความคล่องแคล่วในการใช้งาน เพื่อให้สามารถกลับไปดำเนินชีวิตประจำวันตามบริบทของผู้รับบริการให้มากที่สุด
- การฝึกกิจวัตรประจำวัน รวมถึงดัดแปลงอุปกรณ์ช่วยและอุปกรณ์เสริมในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การใช้ช้อนทานข้าว การฝึกใส่เสื้อให้ผู้ป่วยอัมพฤษ อัมพาต เพื่อให้สามารถกลับไปดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างสุดความสามารถ
บริการทางด้านจิตวิทยา
บริการให้คำปรึกษาเพื่อให้ผู้รับบริการมีทางออก สามารถคลีคลายปัญหาทางด้านจิตใจ อารมณ์และการปรับตัวในสังคม แนะนำการสื่อสารให้แก่ญาติและผู้ดูแลในการดูแลและเข้าหาผู้ป่วย โดยนักจิตวิทยาและนักบำบัดทางจิตและการสื่อสาร ทำการประเมินและวางแผนการจัดการร่วมกันกับผู้รับบริการตามเป้าหมายที่วางไว้เพื่อให้ผู้รับบริการมีสุขภาพจิตและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น