กิจกรรมบำบัด

กิจกรรมบำบัด คือ วิชาชีพทางวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ทำงานเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตลอดทุกช่วงวัยของมนุษย์ โดยมุ่งให้ผู้รับบริการสามารถดูเเลตนเอง เพื่อให้กลับมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความหมาย เเละมีคุณค่าตาม

ความสนใจเเละเป้าหมายของผู้รับบริการ

กลุ่มผู้รับบริการ

  1. ผู้ป่วยระบบประสาท
    • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
    • การได้รับอุบัติเหตุทางสมอง (Traumatic brain injury: TBI)
    • ผู้ได้รับบาดเจ็บไขสันหลัง (Spinal cord injury: SCI)
    • โรคเสื่อมสภาพ (Neurodegerative disease) เช่น Multiple Sclerosis, Parkinson’s disease, Amyotrophic Lateral Sclerosis, Guillain Barre Syndrome
  2. ผู้ป่วยทางระบบโครงสร้างของร่างกาย กล้ามเนื้อและผิวหนัง เช่น โรครูมาตอยด์ กระดูกหัก การตัดแขน/ขา ไฟไหม้/น้ำร้อนลวก เป็นต้น
  3. ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่มือและแขน อันมีสาเหตุมาจากการได้รับบาดเจ็บหรือสาเหตุอื่นที่ทำให้เส้นประสาทส่วนปลาย กล้ามเนื้อและกระดูกทำงานบกพร่อง เช่น Brachial Plexus Injury, Radial Nerve Injury, Medial Nerve Injury, Ulnar Nerve Injury เป็นต้น
  4. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจและเมตาลิซึมของร่างกาย เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน เป็นต้น

ขอบข่ายงานกิจกรรมบำบัด

  • กระตุ้นการกลืน (Swallowing Training)
  • กระตุ้นการรู้ การคิด และความจำ (Cognitive Training)
  • การทำงานของแขนและมือ (Hand Function Training)
  • การฝึกกิจวัตรประจำวัน (ADL Training) รวมถึงดัดแปลงอุปกรณ์ช่วยและอุปกรณ์เสริมในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การใช้ช้อนทานข้าว การฝึกใส่เสื้อให้ผู้ป่วยอัมพฤก อัมพาต เป็นต้น
  • กระตุ้นทักษะการสื่อสารและการพูดเบื้องต้น (Pre-Speech Training)
  • กระตุ้นการรับความรู้สึกหรือยับยั้งการรับความรู้สึกที่ผิดปกติ (Sensory Re-education/Desensitize)
กิจกรรมบำบัด
กิจกรรมบำบัด
กิจกรรมบำบัด
กิจกรรมบำบัด