การออกกำลังกายในคุณแม่ตั้งครรภ์

Estimated read time 1 min read

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การออกกำลังกายนั้น มีประโยชน์นานัปการต่อร่างกายและจิตใจ ทำให้การออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาเป็นกิจกรรม ที่คนทุกเพศ ทุกวัย ให้ความสนใจกันมากขึ้นในปัจจุบัน รวมถึงคุณแม่ตั้งครรภ์ สำหรับคุณแม่บางคน อาจจะยังไม่แน่ใจว่าการออกกำลังกายจะมีประโยชน์ หรือเป็นอันตรายหรือไม่ อย่างไร? เพราะในขณะที่ตั้งครรภ์ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายอย่าง และมีความเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย คือ ระบบการไหลเวียนของเลือด ชีพจรเต้นเร็วขึ้น หัวใจเต้นแรงขึ้น เพราะต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงมดลูก และส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพิ่มขึ้น เส้นเอ็นต่างๆ ยืดหยุ่นมากขึ้น ข้อต่อกระดูกหลวมขึ้น รวมทั้งจุดศูนย์ถ่วงของร่างกายเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากมดลูกที่โตขึ้น จึงทำให้กล้ามเนื้อบางส่วนต้องทำงานหนัก เป็นต้น การได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ และรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดี เตรียมความพร้อมของร่างกายในการให้กำเนิดบุตร และยังช่วยพัฒนาลูกน้อยในครรภ์ให้แข็งแรง

คุณแม่ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะได้รับผลดีอย่างไร??

  • นอนหลับสบาย ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดจากการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน
  • ระบบการไหลเวียนโลหิต และการหายใจ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  • ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ขับถ่ายได้ง่าย ลดอาการท้องผูก
  • ร่างกายมีความแข็งแรง ยืดหยุ่น สดชื่น กระฉับกระเฉง มีพลังในการใช้ชีวิตประจำวัน
  • ร่างกายจะช่วยเผาผลาญอาหารส่วนเกิน จะช่วยควบคุมน้ำหนักของคุณแม่ไม่ให้เพิ่มมากขึ้นจนเกินไป
  • มีความพร้อมในการคลอดบุตร คลอดบุตรได้ง่ายขึ้น
  • การฟื้นตัวของร่างกายหลังคลอดบุตรกลับมาเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว

รูปแบบของการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่

  • การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรง
  • การออกกำลังเพิ่มความยืดหยุ่น
  • การออกกำลังเพื่อช่วยในการทรงตัว และทรงท่าในท่าทางต่างๆ
  • การฝึกหายใจเพื่อความผ่อนคลาย

ท่าบริหารสำหรับคุณแม่

  1. Cat- Cow
  2. Hip strengthening exercise
  3. UE strengthening
  4. Postural balance
  5. Pelvic floor exercise
  6. Breathing exercise
  7. Stretching exercise

คำแนะนำในการออกกำลังสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • ควรได้รับคำแนะนำให้ออกกำลังกายจากแพทย์ก่อน โดยปกติอายุครรภ์มากกว่า 3 เดือนขึ้นไป
  • สวมใส่ชุดที่หลวมสบายตัว
  • ขณะออกกำลังกายไม่ควรหักโหม และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงกระแทก เช่น กระโดดเชือก บาสเกตบอล วิ่งเร็ว การวิ่งจ็อกกิ้ง
  • ควรจิบน้ำเป็นระยะๆ ระหว่างการออกกำลังกาย เนื่องจากอุณหภูมิของร่างกายที่สูงขึ้นกว่าปกติ และช่วยลดการเป็นตะคริวของกล้ามเนื้อ
  • ออกกำลังไม่ควรให้ชีพจรเต้นสูงกว่า 120 ครั้ง/นาที หรือเหนื่อยมากจนเกินไป
  • ควรหยุดออกกำลังกายทันทีหากเกิดอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืด วิงเวียน แน่นหน้าอก หรือเจ็บครรภ์

You May Also Like

More From Author